เปลี่ยนภาษา

สำหรับเจ้าหน้าที่

📣 สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ให้สัมภาษณ์​ทางวิทยุ​เอฟเอ็ม​ ม​ทร​89.5​ ถึงภาษี e-Service กับการปรับตัวของผู้ประกอบการรายย่อย ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ 1 ก.ย. 64
📅 วันที่ 1 กันยายน 2564

.
✨ นางณภัค วรจิรปัญชญา​ ✨ ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล​ สมาพันธ์​เอสเอ็มอี​ไทย​ ให้สัมภาษณ์​ถึง การปรับตัวของผู้ประกอบการในด้านกลุ่มออนไลน์อี-เซอร์วิส จากเดิมมีการจัดเก็บและยื่นแบบ ภ.พ.36 แต่ปัจจุบัน การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์ม สามารถเรียกเก็บแบบ รูปแบบซื้อขายปกติ 7% ในรูปแบบอี-เซอร์วิส ทำให้กระบวนการทำงานง่ายขึ้นในผู้ประกอบการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) อยู่แล้ว
.
สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในส่วนของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ การขายของออนไลน์หรือแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการโฆษณา Facebook, Google แพลตฟอร์มการจองที่พัก Booking, Agoda ต่างๆ และในส่วนของแพลตฟอร์มตัวกลางการเรียกรับ-ส่งอาหาร, ฟังเพลงต่างๆ กลุ่มเหล่านี้จะถูกเรียกเก็บมูลค่าเพิ่ม ขึ้นอยู่กับแต่ละแพลตฟอร์มก่อนว่าจะรวมเข้าไปอย่างไร
.
โดยเริ่มต้นวันที่ 1 กันยายนนี้ 2564 สามารถขอเข้าจดทะเบียนในระบบ VES การติดต่อกรมสรรพากร โดย สำหรับการจัดเก็บมูลค่าเพิ่ม(แวต) ตามพ.ร.บ.อี-เซอร์วิส ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ ผู้ประกอบการในไทย จึงไม่มีผลต่อการเก็บ ภาษีกับผู้ประกอบการไทย หรือพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวล เพราะไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของการจัดเก็บภาษีนี้ สำหรับผู้ใช้บริการในไทยที่จดทะเบียนแวตอยู่แล้ว ให้ดำเนินการโดยยื่นแบบและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.36 และสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อได้เช่นเดิม
.
📌 ขอบคุณ
RMUTTRadio วิทยุราชมงคลธัญบุรี
.
📍📍 ติดตามข่าวสารเพื่อ SME ได้ที่
Facebook : สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย SME Thai
: www.facebook.com/smethai.or.th
Line สมาพันธ์ฯ : https://lin.ee/2clvQnQ
#เพื่อนช่วยเพื่อนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
#สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Translate »