ศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมายสําหรับผู้ประกอบการ SME สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย
1. วัตถุประสงค์
1.1 ให้ความข่วยเหลือทางกฏหมายแก่ผู้ประกอบการ SME
1.2 เผยแพร่ความรู้ทางกฏหมายให้แก่ผู้ประกอบการ SME
1.3 เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อระหว่างผู้ประกอบการ SME กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม กรมบังคับคดี กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือให้ความรู้หนือการดำเนินการทางกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
2. การดําเนินการ วัตถุประสงค์ข้อ1.1 (เงื่อนไข / กล่มเป้าหมาย)
2.1 ผู้ประกอบการ SME ทุกระดับทั่วประเทศ
2.2 เป็นสมาชิกของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย
2.3 รับฟังปัญหา/รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการ SME เกี่ยวกับปัญหาหรือข้อติดขัดในการดําเนินธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องการกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานรัฐ โดยจะรวบรวมนําเสนอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อพัฒนาปรับปรุงแก้ไขต่อไป
2.4. ให้คําปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับหนี้สิน ทรัพย์สิน ใบอนุญาต ค่าปรับ จดทะเบียนธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา การฟ้องคดีหรือต่อสู้คดี ถูกบังคับคดี ยึดทรัพย์ ขายทอดตลาด ล้มละลาย ฟื้นฟูกิจการ
การค้าระหว่างประเทศ หลักประกันทางธุรกิจ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการของ SME
2.5 ไม่รับให้คําปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ทรัพย์สินในเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น ปัญหากฎหมายครอบครัว ทรัพย์สินส่วนตัว
3. การดําเนินการ วัตถุประสงค์ ข้อ 1.2
ศูนย์ช่วยเหลือฯ เน้นการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐหรือองค์กรอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของ SME รวมถึงความรู้ทางด้านบัญชีและภาษี ทรัพย์สิน ทางปัญญา การค้าระหว่างประเทศ การเผยแพร่จะจัดทําในรูปแบบการจัดสัมมนา หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่าย โดยจะจัดให้มีช่องทางแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างศูนย์ช่วยเหลือฯ กับผู้ประกอบการ SME ด้วยกัน เพื่อให้สามารถต่อยอดหรือถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันได้
4. การดําเนินการ วัตถุประสงค์ ข้อ 1.3
1. เป็นศูนย์กลางในการรับฟังและรวบรวมปัญหาจากผู้ประกอบการ
SME นําเสนอต่อหน่วยงานรัฐเพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหาต่อไป
2. รับฟังและรวบรวมนโยบาย กฎระเบียบ ข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ เพื่อแจ้งต่อผู้ประกอบการ SME
3. เป็นพื้นที่ศูนย์กลาง ระหว่าง SME กับภาครัฐ ให้สามารถเชื่อมต่อกันได้สะดวกขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบแนวนโยบายกฎระเบียบของภาครัฐได้รวดเร็ว ในส่วนของหน่วยงานรัฐก็จะรับทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและสภาพปัญหาได้รวดเร็ว เพื่อปรับเปลี่ยนนโยบาย กฎ ระเบียบให้สอดคล้องกับความเป็นจริงได้ดียิ่งขึ้น
5. องค์ประกอบของศูนย์ช่วยเหลือฯ
1. ที่ปรึกษาผู้อํานวยการศูนย์ คือ ประธานคณะกรรมการพัฒนากฎหมายฯ
2. ผู้อํานวยการศูนย์ช่วยเหลือ
3. เลขานุการศูนย์ช่วยเหลือ
4. กรรมการศูนย์
5. ผู้ให้คําปรึกษา นักกฎหมาย ทนายความ ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจ
บัญชี ผู้ทําบัญชี หรือผู้ทรงคณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการพัฒนากฎหมายฯมีหน้าที่ให้คําปรึกษาช่วยเหลือทาง
กฎหมายตามวัตถุประสงค์ของศูนย์ช่วยเหลือฯ
6. ช่องทางการติดต่อขอรับความช่วยเหลือ
email: law.rescue@smethai.or.th
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on email
Email