สมาพันธ์ SME ไทย ชู BCG Economy ก้าวสู่ Thailand 4.0 คาด ปี 68 โต 4.4 ล้านล้านบาท
.
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ขานรับนโยบายรัฐ ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย BCG Economy เพื่อก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ชูปรัชญารัชกาลที่ 9 สร้างความสมดุลเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมดันเศรษฐกิจเติบโตในทุกมิติอย่างยั่งยืน คาดปี 2568 ดันเศรษฐกิจ BCG มีการเติบโต 4.4 ล้านล้านบาท หรือ 24% ของ GDP ประเทศไทย
.
นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า เนื่องด้วยประเทศไทย มีความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพเหมาะแก่การยกระดับมูลค่าจากวัตถุดิบทางการเกษตร และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร มูลค่าต่ำนำมาแปรรูปโดยใช้กลไกการขับเคลื่อนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากบทบาท และความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางเศรษฐกิจด้วย BCG Economy ของประเทศไทย เพื่อก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ที่เป็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยให้มั่นคงมั่งคั่ง ยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) โดยใช้กระบวนทัศน์การพัฒนาตามแนวหลักปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี และใช้ความรู้ควบคู่คุณธรรมสร้างความสมดุลเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
สมาพันธ์ SME ไทย เป็นองค์กรที่ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชน ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชนหรือชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ และตอบสนองต่อนโยบายภาครัฐ Thailand 4.0 โดยการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SME ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย เพื่อให้เกิดกระบวนการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
และบริการด้วยนวัตกรรม ความสร้างสรรค์ และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเชื่อมโยงองค์ความรู้ ยกระดับการบริหารการจัดการความเป็นผู้ประกอบการ เข้าถึงแหล่งทุนต้นทุนต่ำช่องทางและโอกาสเข้าถึงมาตรการให้ การสนับสนุนจากภาครัฐ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุกิจ SME การนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ การสร้างแบรนด์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มและการจดจำที่ดี จับคู่เชื่อมโยงการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
โดยสมาพันธ์ SME ไทย มีความร่วมมือหลากหลายโครงการกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อน BCG Economy ทั้งนี้มี 4 กลุ่มอุตสาหกรรมที่กรมวิทยาศาสตร์บริการให้การบริการ คือ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมเซรามิค และอุตสาหกรรมวัสดุศาสตร์ ซึ่งในปี 2565 นั้นจะยังขับเคลื่อน BCG Economy Model ให้เป็นรูปธรรม ผ่าน Quadruple Helix หรือ จตุรภาคี ที่มีรูปแบบการทำงานสอดประสานกัน 4 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และภาคชุมชนสังคม ปัจจัยสำคัญ คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ชุมชน สังคมกับแต่ละพื้นที่อย่าง
จริงจังและจริงใจ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) สมัยใหม่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นกลไกสำคัญ เชื่อมโยงกับ SME วิสาหกิจชุมชน ประชาสังคมแต่ละท้องถิ่นสร้าง การพัฒนาเชิงพื้นที่ในเชิงรุกร่วมกับ Digital Economy หรือ การสร้างพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) เพิ่มมากขึ้น ให้ประชาชน มีขีดความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
” BCG Economy มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งการส่งเสริมการจ้างงานไม่น้อยกว่า 16.5 ล้านคน ทั้งภาคการเกษตรอุตสาหกรรม และภาคอุตสาหกรรม มีมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 3.4 ล้านล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 21 ของ GDP ประเทศไทย ในปี 2563 ซึ่งนโยบายภาครัฐมีเป้าหมายที่จะให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG มีการเติบโตเพิ่มขึ้นในปี 2568 เป็น 4.4 ล้านล้านบาท หรือ 24% ของ GDP ประเทศไทย สิ่งสำคัญของการขับเคลื่อน BCG Economy คือ การให้องค์ความรู้ สร้างการรับรู้ ตระหนัก และ
กลไกการเชื่อมโยงให้ผู้ประกอบการ SME ภาคการเกษตรอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถเข้าถึงมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐให้การสนับสนุนได้อย่างกว้างขวาง และดำเนินการอย่างจริงจังให้เป็นรูปธรรม ในการกระจายรายได้ ยกระดับขีดความสามารถ SME ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ”
.
ขอขอบคุณ อปท.นิวส์
https://opt-news.com/…/magazine28ce239d3f40b9db2e51e9bd…
.
ติดตามข่าวสารเพื่อ SME ได้ที่
Facebook : สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย SME Thai
: www.facebook.com/smethai.or.th
Line สมาพันธ์ฯ : https://lin.ee/2clvQnQ
#เพื่อนช่วยเพื่อนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
#สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย