คณะกรรมการพัฒนากฎหมายฯ สมาพันธ์ SME ไทย ร่วมเสนอแนะพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
.
วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565
ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 408 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา
.
คณะกรรมการพัฒนากฏหมายธุรกิจและช่วยเหลือ mSMEs ร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ครั้งที่ 3
เพื่อให้ความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่ง
สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมและมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ ….
สาระสำคัญของร่างดังกล่าว เป็นการเพิ่มเติม มาตรา 23/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
“ให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงในสัญญาจ้างให้ลูกจ้างสามารถทำงานในทางการที่จ้างหรือที่ได้ตกลงไว้กับนายจ้างไปทำที่บ้านหรือ ณ ที่อยู่อาศัยของลูกจ้างได้ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละแปดชั่วโมงโดยให้นับเวลาดังกล่าวรวมเป็นเวลาทำงานในวันทำงานปกติของลูกจ้าง”
โดยสรุปหลักการของกฎหมายดังกล่าวให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันให้ work from home ได้
ร่างกฎหมายฉบับนี้ กระทบกับนายจ้างและลูกจ้าง นอกจากนี้ยังไม่มีรายละเอียดที่สำคัญตามหลักการของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน อาทิเช่น กรอบช่วงเวลาการทำงาน สภาพการจ้างของผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน อำนาจการบังคับบัญชาของนายจ้างในขณะที่ลูกจ้างมิได้ทำงานที่สถานประกอบการ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น การประเมินผลการทำงาน การประสบอันตรายของลูกจ้างในขณะทำงานที่บ้านการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้างและครอบครัว อีกทั้งเมื่อเมื่อนายจ้างลูกจ้างสามารถตกลงกันได้ อาจไม่มีความจำเป็นในการตรากฎหมาย เป็นต้น
จากข้อเสนอแนะของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กรรมาธิการ จะรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนอื่นๆอีกครั้งหนึ่งและนำร่างกลับไปศึกษาในรายละเอียดต่อไป
ทั้งนี้ การเข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็น ต่อร่างกฎหมายดังกล่าว มี
นายนรเทพ บุญเก็บ ประธานคณะกรรมการพัฒนากฎหมายธุรกิจและช่วยเหลือผู้ประกอบการ mSMEs
นางณัฐพิมล สมเจษ ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
นายพิชัย เอี่ยมอ่อน กรรมการฝ่ายพัฒนากฎหมายธุรกิจและช่วยเหลือผู้ประกอบการ mSMEs
เข้าร่วม
.
ติดตามข่าวสารเพื่อ SME ได้ที่
Facebook : สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย SME Thai
Line สมาพันธ์ฯ : https://lin.ee/2clvQnQ
Post Views:
28